บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

ต้นกับแดง,กะแต๊ง,หมากวิง

รูปภาพ
ต้นกับแดง , กะแต๊ง , หมากวิง ลักษณะวิสัย ปาล์ม ลักษณะของต้นหมาก               ต้นหมาก   มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบ ๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น และมีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกเอนได้มาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงกว่า 700 เมตร

ต้นพุดศรีลังกา , พุดแคระ

รูปภาพ
ต้นพุดศรีลังกา , พุดแคระ ลักษณะวิสัย ไม้ยืนต้น ลักษณะทั่วไป            เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นสูง 1-3 เมตร ผิวลำต้นมีสีขาวเทา แตกกิ่งก้านออกใบรอบต้น   ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ตามข้อของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบสีเขียว     ยาว 8-12 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีกลิ่นหอมสีขาว หรือเรียงเป็นชั้นเดียวแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกบานมีความโต 2-5 ซม. ออกผลเป็นฝักรูปกระบอกแหลมโค้ง ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ด

ต้นยี่โถ่ฝรั่ง

รูปภาพ
ต้นยี่โถฝรั่ง ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม ลักษณะของยี่โถ            ต้นยี่โถ   มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น โปรตุเกส ไปถึงอินเดียและอิหร่าน (เปอร์เซีย) โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปลายรัชกาลที่ 2 หรือต้นรัชกาลที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2352 – 2364 โดยมีลักษณะเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ มียางสีขาวคล้ายน้ำนม     ในปัจจุบันนี้บ้านเราจะรู้จักและใช้ต้นยี่โถในฐานะไม้ดอกไม้ประดับซะมากกว่า   เพราะมีดอกที่งดงามคล้ายดอกกุหลาบ มีกลิ่นหอม ออกดอกได้ตลอดปี และที่สำคัญยังปลูกง่ายและทนทานตายยากอีกด้วย   ส่วนในด้านของสมุนไพรนั้นก็มีสรรพคุณทางยาอยู่เหมือนกัน ซึ่งก็มีทั้งคุณและโทษ   ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยาก็ได้แก่ ผล   ใบยี่โถ   และ ดอกยี่โถ

ต้นปักษาสวรรค์

รูปภาพ
ต้นปักษาสวรรค์ ลักษณะวิสัย พืชดอก ลักษณะทางพฤษศาสตร์       ปักษาสวรรค์เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ( rhizome) หรือที่เรียกว่ามีเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่งใบขึ้นมาพ้นผิวดินทำให้เห็นเหมือนลำต้นเป็นกอมีลักษณะรายละเอียดส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้   ราก    ลักษณะรากเป็น fleshy root ถ้าปลูกอยู่ในกระถาง รากจะอัดกันแน่น ขดกันกลมก้นกระถาง รากอวบหนา เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 นิ้ว มี storage food สูงมาก ทำให้ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดีพอสมควร   ลำต้น   ลักษณะลำต้นเป็น pseudostem สูงประมาณ 2-5 ฟุต ถ้ารับประทานเข้าไปจะเป็นพิษ

ต้นราชพฤกษ์,คูณ,ลมแล้ง

รูปภาพ
ต้นราชพฤกษ์ , คูณ , ลมแล้ง ลักษณะวิสัย ไม้ต้น ต้นราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้มีข้อเสนอและสรุปให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกไม้ สัตว์ และสถาปัตยกรรม ซึ่งจากการพิจารณาได้ข้อสรุปว่า ให้สัตว์ประจำชาติคือ “ ช้างไทย ” ส่วนในด้านสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ “ ศาลาไทย ” ลักษณะของต้นราชพฤกษ์ ต้นราชพฤกษ์  ( ต้นคูน ) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียใต้ ไล่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกา โดยจัดเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยง มักขึ้นทั่วไปตามป่าผลัดใบหรือในดินที่มีการถ่ายเทน้ำดี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้ามาปลูกในถุงเพาะชำ เมื่อโตพอแล้วก็ย้ายมาปลูกในพื้นที่ แต่ในปัจจุบันอาจจะใช้วิธีการทาบกิ่งและเสียบยอดก็ได้ แต่โอกาสสำเร็จจะน้อยกว่าวิธีการเพาะเมล็ด

ต้นพวงม่วง

รูปภาพ
ต้นพวงม่วง ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม ลักษณะของเข็มม่วง        ต้นเข็มม่วง   จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตรและอาจสูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนหรือการตัดกิ่งปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำดี ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงรำไร อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง นิยมปลูกในที่มีแสงแดดแบบรำไรมากกว่าปลูกกลางแจ้ง   ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค แต่ส่วนมากมักพบขึ้นตามป่าทางภาคใต้ ในพื้นที่ร่มรำไรตามป่าผสมผลัดใบและป่าดิบแล้ง ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 400 เมตร

ต้นยางพุด,มูกขาว

รูปภาพ
ต้นยางพุด , มูกขาว ลักษณะวิสัย ไม้ต้น ลักษณะของโมกหลวง         ต้นโมกหลวง   จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 3-15 เมตร ลำต้นกลม เปลือกต้นชั้นนอกเป็นสีเทาอ่อนถึงสีน้ำตาล หลุดลอกออกเป็นแผ่นกลม ๆ ขนาดไม่เท่ากัน ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีซีด ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ใบอ่อนจะมีขนปกคลุมมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี พบได้ตามป่าเต็งรังทั่วไป ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ   มีเขตการกระจายพันธุ์จากแอฟริกาถึงอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต้นพิกลุป่า

รูปภาพ
ต้นพิกุลป่า ลักษณะวิสัย ไม้ต้น ลักษณะของพิกุล ต้นพิกุล   มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน   มีการเพาะปลูกมากในมาเลเซีย เกาะโซโลมอน นิวแคลิโดเนีย วานูอาตู และออสเตรเลียทางตอนเหนือ รวมไปถึงเขตร้อนทั่ว ๆ ไป

ต้นกล้วยหอม

รูปภาพ
ต้นกล้วยหอม ลักษณะวิสัย ไม้ล้มลุก        กล้วย  (Banana) ที่นิยมรับประทานกันในบ้านเรานั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น แต่สำหรับต่างชาติแล้วกล้วยที่นิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกล้วยหอม เนื่องจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์แล้วมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุชัดเจนว่าการรับประทานกล้วยแค่ 2 ลูกจะช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกายได้เทียบเท่ากับการออกกำลังกายถึง 90 นาทีเลยทีเดียว ! เพราะกล้วยอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติรวมถึง 3 ชนิดเลย นั่นก็คือ ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายนั่นเอง       นอกจากนี้แล้วในกล้วยยังอุดมไปด้วยเส้นใยและกากอาหาร และยังมีวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี เป็นต้น

ต้นกล้วยตานีอ่อง

รูปภาพ
ต้นกล้วยตานีอ่อง ลักษณะวิสัย ไม้ล้มลุก ลักษณะของกล้วย      กล้วย   เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินรูปร่างกลมมีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ก้านใบยาวมองเห็นชัดเจน ดอกออกที่ปลายช่อ ลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อยออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผง เรียกว่า หวี เรียงซ้อนกันหลายๆ หวี เรียกว่า เครือ ” การขยายพันธุ์ของ กล้วย กล้วย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด กล้วย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้ หน่อ กล้วย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  (Tissue culture)

ต้นมะม่วง

รูปภาพ
ต้นมะม่วง ลักษณะวิสัย ไม้ยืนต้น           มะม่วงจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย และถือว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของประเทศอินเดีย ในบ้านเรานั้นมะม่วงจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจซึ่งส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก สำหรับพันธุ์มะม่วงนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก โดยสายพันธุ์ที่แพร่หลายมากที่สุดเห็นจะเป็นพันธุ์เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ อกร่อง ฟ้าลั่น โชคอนันต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็จะมีรสชาติและลักษณะแตกต่างกันออกไป ประโยชน์ของมะม่วงที่เราเห็นเป็นประจำก็คงจะไม่พ้นการนำมารับประทานเป็นผลไม้สดทั้งดิบและสุก หรือมีการไปทำเป็นอาหารว่างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง พายมะม่วง และนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ใส่น้ำพริก ยำ ส้มตำ ส่วนยอดอ่อนหรือผลอ่อนก็สามารถนำมาประกอบอาหารแทนผักได้ด้วย เป็นต้น